ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ทีมงาน เซน นครแม่สอด ข่าวประชาสัมพันธ์ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์ รัฐบาลเห็นสมควรประกาศขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่ 25 ต.ค 56 ถึง 23 พ.ย 56 ประกาศ ณ วันที่ 25 ต.ค.56//ตอนนี้ทางทีมงาน เซน นครแม่สอด รับสมัครงานด่วนหลายอัตรา ติตตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ E-mailnacornmaesot@gmail.com และ facebookของทีมงาน//“กิจกรรมจิตอาสาหมายถึง..ช่วยคนอื่นที่มีปัญหาโดยใช้สติปัญญา แรงกาย และเวลาของเรา ด้วยความเต็มใจ โดยปรารถนาให้เขาหลุดพันจากปัญหา โดยที่เราไม่หวังผลตอบแทน.....” หลักในการทำโครงการจิตอาสาสำหรับน้อง ๆ เยาวชน จากคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นิวยอร์กร่วมไว้อาลัยแด่ เนลสัน แมนเดลา บุคคลสำคัญของโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่7 ธ.ค.ว่ามหานครนิวยอร์กเมืองที่ใหญ่ที่สุดและวุ่นวายที่สุดในสหรัฐร่วมจัดงานไว้อาลัยการจากไปของบุคคลสำคัญของโลกอย่างเนลสัน แมนเดลาโดยที่ศาลาว่าการเมืองและสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ(ยูเอ็น)มีการลดธงลงครึ่งเสาพร้อมกันนี้ นายไมเคิลบลูมเบิร์กนายกเทศมนตรีก็ได้ออกมารณรงค์ให้ชาวนิวยอร์กทุกคนร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ด้วย
นอกจากนี้ย่านฮาเร็มของนิวยอร์กซึ่งมีประชากรส่วนมากเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกันได้มีการจัดงานร่วมไว้อาลัยแมนเดลาเช่นกันเนื่องจากแมนเดลาและภรรยาของเขาเคยเดินทางมาเยือนย่านดังกล่าวเมื่อปี2533อีกทั้งยังมีชาวนิวยอร์กอีกจำนวนหนึ่งพากันมารวมตัวกันที่หน้าสถานกงสุลแอฟริกาใต้ประจำนครนิวยอร์กหรือแม้กระทั่งหลังการประกาศว่าแมนเดลาถึงแก่อสัญกรรมก็ยังมีผู้คนมารวมตัวที่หน้าภัตตาคารอาหารของแอฟริกาใต้ในย่านบรูกลินเพื่อไว้อาลัยการจากไปของแมนเดลาชาวนิวยอร์กยังขึ้นข้อความไว้อาลัยในจอโฆษณาย่านไทมส์มแควร์เพื่อแสดงความโศกเศร้าต่อการจากไปของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้อีกด้วย

ประวัติชีวิตและการต่อสู้ของ เนลสัน แมนเดลา 
โดย เนลสัน แมนเดลา เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในครอบครัวชาวเทมบู ซึ่งพูดภาษาโซซา ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางฟากตะวันออกของแหลมเคปของแอฟริกาใต้ เดิมมีชื่อว่า มาดิบา ต่อมาครูในโรงเรียนได้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้เขาว่า แมนเดลา
ต่อมาพ่อของเขาซึ่งเป็นที่ปรึกษาของตระกูลผู้ปกครองชาวเทมบู ได้เสียชีวิตขณะที่เขามีอายุได้ 9 ขวบ เขาจึงได้รับการชุบเลี้ยงจากรักษาการผู้สำเร็จราชการเมืองเทมบู จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2484 เมื่อมีอายุ 23 ปี เนลสัน แมนเดลา ได้หนีจากการถูกจัดให้แต่งงานแบบคลุมถุงชน หลบไปอยู่ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ก่อนจะเข้าเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยวิทส์วอเทอแรนด์ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกัน และที่นี่ทำให้เขาได้พบเจอผู้คนจากทุกเชื้อชาติ ได้รับความคิดแบบเสรีนิยม และความคิดต่อสู้เพื่อชาวแอฟริกัน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเหยียดผิว การถูกกระทำแบบสองมาตรฐาน ซึ่งผลักดันให้เขากลายเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
โดยในปี พ.ศ. 2486 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคสภาแห่งชาติแอฟริกัน หรือเอเอ็นซี และต่อมาได้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตยุวชนเอเอ็นซี อีกทั้งเขาได้ร่วมกับเพื่อน โอลิเวอร์ แทมโบ ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายในเมืองโจฮันเนสเบิร์กในปี พ.ศ. 2495 รณรงค์ต่อต้านระบอบปกครองที่เหยียดผิวของพรรคคนผิวขาว ที่กดขี่ชาวผิวดำซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ จนทำให้ในปีพ.ศ. 2499 แมนเดลาถูกแจ้งข้อหากบฏพร้อมกับนักเคลื่อนไหวอีก 155 คน แต่อัยการสั่งไม่ฟ้องเขาหลังสอบสวนอยู่นาน 4 ปี
ต่อมาได้มีการออกกฎหมาย Pass Laws ฉบับใหม่ซึ่งจำกัดเขตอยู่อาศัยและทำมาหากินของคนผิวดำ ทำให้กระแสต่อต้านการเหยียดผิวได้ขยายตัวไปทั่วแอฟริกาใต้ ขณะที่พรรคเอเอ็นซีก็ถูกประกาศให้เป็นกลุ่มเถื่อนในปี พ.ศ. 2503 ทำให้ เนลสัน แมนเดลาต้องหลบลงใต้ดิน อย่างไรก็ดี กระแสการต่อต้านลัทธิเหยียดผิวได้รุนแรงขึ้นจนถึงที่สุดเมื่อตำรวจได้สังหารหมู่ชาวผิวดำ 69 คนในเมืองชาร์ปวิลล์ในปีเดียวกัน
เนลสัน แมนเดลา ซึ่งขณะนั้นเป็นรองประธานเอเอ็นซี ได้เปิดปฏิบัติการวินาศกรรมทางเศรษฐกิจจนกระทั่งถูกจับในที่สุด และเขาถูกแจ้งข้อหาก่อวินาศกรรม และพยายามโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการรุนแรง โดยระหว่างการพิจารณาคดีที่เมืองริโวเนีย แมนเดลาได้ประกาศความเชื่อของเขาในเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมว่า
“ผมเชิดชูอุดมคติเรื่องสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ ที่ซึ่งคนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน นี่คือสังคมอุดมคติที่ผมปรารถนาจะไปให้ถึง เป็นอุดมคติที่ผมพร้อมจะอุทิศชีวิตให้”
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2507 เขาถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตบนเกาะร็อบเบนเป็นเวลา 18 ปี ก่อนถูกย้ายมายังเรือนจำโพลส์มัวร์บนแผ่นดินใหญ่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งขณะที่เขาถูกจองจำอยู่นั้น พวกเยาวชนตามเมืองต่าง ๆ ของชนผิวดำยังคงต่อสู้กับการปกครองโดยคนผิวขาวส่วนน้อยต่อไป จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก
ขณะที่ทางฝั่งของ โอลิเวอร์ แทมโบ สหายของแมนเดลา ผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ เขาได้เริ่มรณรงค์ในระดับสากล เรียกร้องให้ปล่อยตัวมิตรร่วมอุดมการณ์ในปี พ.ศ. 2523  โดยมีการจัดคอนเสิร์ตที่สนามกีฬาเวมบลีย์ในกรุงลอนดอนในปี 2531 ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 72,000 คน อีกหลายล้านทั่วโลกรับชมทางโทรทัศน์และร่วมร้องเพลงเพื่อให้ปลดปล่อยเนลสัน แมนเดลา
โดยกระแสเรียกร้องนี้ ทำให้บรรดาผู้นำโลกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อระบอบเหยียดผิวของแอฟริกาใต้ ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 แล้ว จนในที่สุด ประธานาธิบดี เอฟ ดับเบิลยู เดอ เคลิร์ก ก็ไม่สามารถทนต่อแรงกดดันจากทั่วโลกได้ และเลิกสั่งแบนพรรคเอเอ็นซีในปี พ.ศ. 2533 พร้อมกับปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา
ในปี พ.ศ. 2536 เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และต่อมาชาวแอฟริกาใต้ทุกผิวสีได้ออกเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ทำให้ เนลสัน แมนเดลาได้รับเสียงโหวตท่วมท้นให้เป็นประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 ซึ่งเขาได้ปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียดสีผิวหรือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ และได้รับความยกย่องจากนานาชาติสำหรับการอุทิศตนเพื่อการประสานไมตรีทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และได้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งเขายังคงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้กับเรื่องสิทธิมนุษยชนและให้ความรู้เรื่องการติดต่อของโรคเอดส์จนกระทั่งอายุ 85 ปี ก่อนจะขอเกษียณเนื่องจากปัญหาสุขภาพ
และถึงแม้ว่า ณ วันนี้ เนลสัน แมนเดลา จะถึงแก่อสัญกรรมแล้ว หลังจากป่วยด้วยโรคปอดและเกิดอาการแทรกซ้อนเรื้อรังมาอย่างอย่างนาน กระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่เขาก็ยังคงเป็นรัฐบุรุษของโลก และนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่ในหัวใจของคนทั่วโลกตลอดกาล

ไม่มีความคิดเห็น: